คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ... คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ภาวะโลกร้อน
















ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ก๊าซมีเทน ( CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาในบรรยากาศไม่น้อยหน้าประเทศอื่น โดยมีที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า !! ??ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ( co2) มาจากมนุษย์ประเทศไหนมากที่สุด จากตัวเลขที่ได้สำรวจล่าสุดนั้นเรียงตามลำดับประเทศที่ปล่อยควันพิษของโลกมีปริมาณสะสมมาตั้งแต่ปี 1950 ดังนี้ :-
1. สหรัฐอเมริกา 186,100 ล้านตัน 2. สหภาพยุโรป 127,800 ล้านตัน 3. รัสเซีย 68,400 ล้านตัน 4. จีน 57,600 ล้านตัน 5. ญี่ปุ่น 31,200 ล้านตัน 6. ยูเครน 21,700 ล้านตัน 7. อินเดีย 15,500 ล้านตัน 8. แคนาดา 14,900 ล้านตัน 9. โปแลนด์ 14,400 ล้านตัน 10. คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน 11. แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตัน 12. เม็กซิโก 7,800 ล้านตัน 13. ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตัน
รวมถึงการปล่อยสารซีเอฟซีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่อง ทำความเย็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศทั้งบ้านและรถยนต์ ในต่างประเทศเองส่วนใหญ่เลิกใช้สารซีเอฟซีกันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสารซีเอฟซีที่ใช้ทั่ว โลก ทราบว่าปีหน้าไทยเองจะยกเลิกเช่นกัน
สารซีเอฟซีนั้นประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณทั้งหมด ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นเพื่อใช้ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น และเครื่องปรับอากาศทั้งในอาคารและในรถยนต์ ร้อยละ 25 ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และร้อยละ 42 ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มองแค่ ตู้เย็นผลิตประมาณปีละ 1.3 ล้านเครื่อง ใช้สารซีเอฟซีประมาณ 260 ตันต่อปี
ยังมีอุตสาหกรรมที่ใช้สารไฮ-โดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เอชซีเอฟ และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนหรือ เอชเอฟซี สามารถทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้เช่นกัน เอชซีเอฟ ทำลายโอโซนได้นาน 5 ปี ส่วนซีเอฟซี ทำลายโอโซนได้นานถึง 25 ปี ส่วนเอชเอฟซี ไม่ทำลายชั้นของโอโซนเพียงแต่ปิดกั้นพลังงานความร้อนเท่านั้น
ประการต่อมาสารคาร์บอนไดออกไซด์ มีการพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากการตัดไม้ ทำลายป่าบนพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ ตรงนี้น่าจะรับฟังได้ เพราะป่าไม้ของไทยถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ จนจะหมดอยู่แล้ว ผลที่เกิดก็คือเนื่อง จากต้นไม้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ตอนมีการสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน และปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในเวลากลางคืน
แต่ที่แนวโน้มน่ากลัวกว่าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียจากรถยนต์ เพราะการพัฒนาประเทศนั้นมีแต่เพิ่มมากขึ้น ในการขับขี่ยานพาหนะ ขณะนี้ประเมินว่ามี 1.88 ล้านคันทั่วประเทศ จะมีก๊าซออกมา 10 กิโลกรัม ต่อเชื้อเพลิง 4 ลิตร หากมีการขับขี่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 4 ลิตรต่อคัน ก็จะปล่อยคาร์บอนไดออก ไซด์ออกมา 18,800 ตัน สำหรับในการผลิต กระแสไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ต้องใช้ถ่านหินหนัก ครึ่งกิโลกรัม ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือ 1.4 กิโลกรัม อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงยังปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศและ เป็นหมอกควันที่ป้องกันแสงอาทิตย์ทั้งยังปิดบังเรือนกระจก ซึ่งจะทำให้บรรยากาศเกิดการเย็นลงได้

ไนตรัสออกไซด์ไนตรัสออกไซด์จะดูดความร้อน ไว้ได้นับร้อยๆ ปี เพราะโมเลกุลของก๊าซนี้สามารถดูดความร้อนไว้ได้นาน กว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 100 เท่า แต่ไนตรัสออกไซด์ ทำลายโมเลกุลของโอโซนได้น้อยกว่าซีเอฟซีร้อยละ 25 ซึ่งไนตรสออกไซค์พบได้มากที่ปุ๋ยเคมี และถ่านหิน
ก๊าซมีเทน สาเหตุหลักมาจาก การตัดไม้และการเผาป่า นอกจากนี้การทำนาข้าว การเลี้ยงวัวควาย การถมขยะ การทำเหมืองแร่ และการผลิตถ่านหิน อย่างการปลูกข้าว เกิดก๊าซมีเทน เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในดินเป็นตัวปล่อยมีเทน การเลี้ยงวัวควายก่อให้เกิดมี-เทน เนื่องจากแบคทีเรียใน กระเพาะอาหารของสัตว์กินหญ้าประเภทวัว ควาย แพะ แกะ อูฐ จะย่อยอาหารและปล่อยมีเทนออกมาด้วย
มีการศึกษาพบในแต่ละวันวัว 1 ตัว เรอมีเทนออกมาถึง 0.5 ปอนด์ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาไทยมีวัว ควายประมาณ 11 ล้านตัว แต่ละตัว จะเรอนาทีละหลายครั้ง หากวัวควายเรอเพียงนาทีละครั้ง จะมีปริมาณ ก๊าซมีเทนออกมา 5.5 ล้านปอนด์ มีเทนที่เก็บพลังงานความร้อนเอาไว้ ขณะนี้จะเก็บความร้อนไว้ได้นานกว่า 10 ปี และเก็บความร้อน ไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนสามารถ เก็บพลังงานความร้อนเอา ไว้ขณะนี้ไปจนถึงระยะเวลานาน 10 ปี และเก็บความร้อนไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า

ตัวทำลายโอโซนดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมาก นอกจากอากาศบนโลกจะร้อนขึ้นและสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ จะตามมาอีกมาก การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองเพื่อมีชีวิตรอด ก็ต้องแสวงหากันอีก นอกจากนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชและสัตว์ก็มากด้วย ระบบชีวิตของมันต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง ถึงขั้นสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาจากขั้วโลกกำลังละลายลงมา สู่ทวีปยุโรป และดินแดนที่มนุษย์ อาศัยอยู่ วิเคราะห์กันว่าบริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะ สูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น

หากว่ากันแล้วมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวทำลายโอโซน แต่จะบอกว่าใคร ปล่อยมากปล่อยน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลบ้านของตัวเองว่า จุดไหนที่ปล่อยสารพิษทำลายโอโซนต้องช่วยกันทำให้ลดลง เพื่อจะได้อยู่ในโลกนี้ได้ยาวนาน

แต่สำหรับพวกเราแล้ว สิ่งที่น่าจะทำกันได้ อย่างเช่น การลดการใช้ สารซีเอฟซีที่มีอยู่ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น เครื่องปรับอากาศคือ การใช้แปรงทาสีแทนที่จะใช้กระป๋องฉีดสเปรย์ ใช้เครื่องปรับอากาศ เท่าที่จำเป็นแล้วหันมาใช้พัดลม เปิดหน้าต่างและสวม เสื้อผ้าบางๆ นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช้แล้ว ก็จะต้องมีวิธีการทำลายที่ดี เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารซีเอฟซี สู่ชั้นบรรยากาศ

สำหรับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์ ทำได้โดยใช้รถรวมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันครั้งละหลายๆ คนหรือที่รัฐบาลโดยสพช. กำลังรณรงค์กันอยู่ ขณะนี้คือ CAR POOL การขับขี่ยานพาหนะที่ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง การสัญจรโดยการเดิน หรือเดินทางโดยรถจักรยาน หรือโดยสารรถประจำทาง

การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัด โดยธรรมชาติน้อยลง การใช้เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน ทำบ้านให้ปลอดโปร่ง ใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และลม ทำให้ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงาน และการผลิตกระแสไฟฟ้าทำให้ปล่อยคาร์บอน-ไดออกไซด์ออกมาน้อยลง

นอกจากนี้ การป้องกันการปล่อยมีเทนออกสู่บรรยากาศทำได้โดย ลดปริมาณขยะและนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดการเผาต้นไม้ในป่า และตามทุ่ง นอกจากนี้ยังควรพยายามที่จะนำมีเทนที่ เกิดจากการถมขยะ และการทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเป็นก๊าซที่เก็บความร้อนบนโลก ยิ่งมีก๊าซมากก็จะเก็บความร้อนไว้มาก

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยเนื้อหากว่า 1,000 หน้าจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คน ว่ากรณีภาวะโลกร้อนจะ แตกต่างกันในแต่ละประเทศแต่ละส่วนของโลก 1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุก ทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด
ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปร ปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก
แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์ นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทราย จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
3. ผลกระทบด้านสุขภาพ ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม รากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์ แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
จะป้องกันได้อย่างไร ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้

1. ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้น เป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้ เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูก ในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้

2. ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึง ระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่า ไฟฟ้า แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่

3. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้ งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่ หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก
4. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย

5. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป

6. ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถเช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว

7. ทดลองเดินให้มากที่สุด

เรื่องดีๆจากถุงผ้า














ยังคงเป็นกระแสต่อเนื่องนะคะ สำหรับปัญหา “สภาวะโลกร้อน” ถ้าพวกเราสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าในปีที่ผ่านมามีหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนออกมาจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการช่วยกันลดต้นเหตุการเกิดปัญหาสภาวะโลกร้อน ซึ่งที่ผ่านมาเท่าเราติดตามข่าว กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

แต่มีเรื่องนึงนะคะที่น่าแปลกใจ เราได้ข่าวมาว่าในวงการแฟชั่นเองเค้าก็ให้ความสนใจกับปัญหาโลกร้อนเช่นกัน เลยเป็นที่มาของประเด็นถุงผ้าแก้ปัญหาโลกร้อน ที่ตอนนี้กำลังฮอตอย่างยิ่งในหมู่ดีไซเนอร์ระดับโลกที่พากันหันมาเวิร์กเรื่องนี้สุดๆ

ตอนนี้ไม่เพียงถุงสุดฮอต "I"m Not a Plastic Bag" ของดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ Anya Shindmarch ที่เลื่องลือระบือไกลไปทั่วโลก เชื่อมั๊ยคะว่าถึงขนาดขายได้มากกว่าราคาจริงถึง 10 เท่า(โอ้...ว้าว!!!) แต่ทว่าแบรนด์เนมดังๆ อย่าง Hermes, Stella McCartney, Consuelo Castiglioni ฯลฯ หรือแม้แต่แบรนด์กลาง แบรนด์เล็ก ในทุกประเทศทั่วโลก ต่างก็หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกถุงผ้าสุดเก๋มาเอาใจผู้คนรักษ์โลกกันเป็นว่าเล่น
ส่วนกระแสถุงผ้าในบ้านเรา ตอนนี้เป็นอะไรที่กำลังระบาดหนักเช่นกัน เห็นตามศูนย์การค้าใหญ่ๆ ก็พากันหันมารณรงค์ใช้ถุงผ้ากันแล้ว อย่างถุง Green Please ! ของเครือเดอะมอลล์ สยามพารากอน เอ็มโพเรียม นั่นก็ใช่
ล่าสุดก็คือ บีเอสซี แบรนด์หนึ่งในเครือ ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เปิดตัวกระเป๋าผ้านาโนสุดเก๋ มีข้อความ Save me
ความพิเศษของกระเป๋าผ้ายี่ห้อนี้นอกจากตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงการนำงานวิจัยของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติมาต่อยอดในเชิงธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม แถมยังรักสิ่งแวดล้อม ด้วยการเคลือบอนุภาคนาโนที่เส้นใย ระดับ 90-300 นาโนเมตร ทำให้ผ้าฝ้ายที่ใช้ตัดเย็บกระเป๋าคอลเล็กชั่นนี้เกิดคุณสมบัติคล้ายกับใบบัว ไม่ดูดซับน้ำ น้ำมัน ทำความสะอาดง่าย ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการนำไปใช้ได้ในโอกาสต่างๆ

ถือเป็นการเริ่มต้นของอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ที่ทำให้ได้ถุงผ้าสุดเก๋ในอีกเวอร์ชั่นมารับกระแส บุญเกียรติ โชควัฒนา บอสใหญ่ของค่ายนี้บอกว่า"เมื่อเริ่มแล้วไม่ควรหยุดและคงต้องสร้างสำนึก สร้างพฤติกรรมใหม่ ให้คนหันมาถือถุงผ้ากันมากขึ้นด้วย"

หากจะพูดกันจริงๆแล้ว การรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกคงไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไรนัก เพราะถ้าเราดูจากข้อมูลที่มีการสำรวจไว้ เราจะเห็นประเด็นบางอย่างที่น่าสนใจและน่าตกใจ ก็คือ ทุกวันนี้โลกที่เราอาศัยอยู่ใช้พลาสติก (พลาสติกทุกประเภท) กัน 20,000 ล้านตันต่อปี บ้านเราใช้ 20 ล้านตันต่อปี ซึ่งหากทุกคนในเมืองไทยหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน เชื่อไหมว่าจะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะ 650 ล้านบาท/ปี
นี่เป็นกระแสดีๆ ที่ไม่เพียงช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ยังทำให้วงจรของอุตสาหกรรมสิ่งทอบ้านเราคึกคักขึ้นด้วย เรียกได้ว่ามีช่องทางทำมาหากินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่องทางเลยก็ว่าได้โดยเฉพาะในหมู่ของผู้ผลิตกระเป๋าผ้าฝ้ายที่พากันเห็นแนวโน้มที่ดีของแฟชั่นถุงผ้าเพื่อโลกร้อน
ดังเช่นบริษัทฟิโลเบอร์รี่ ผู้ผลิตขนาดกลางของบ้านเรา ที่ยอมรับว่ากระแสถุงผ้าเริ่มแรงขึ้นแล้ว เพราะเป็นเทรนด์ที่ภาครัฐ เอกชน พากันหันมาทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร โดยทุกวันนี้เขาผลิตถุงผ้าเดือนละ 3,000 ใบ มีการสกรีน 2 แบบ คือ สกรีน โลโก้บริษัทหน่วยงาน หรือสกรีนโลโก้บริษัทหน่วยงานและวิธีช่วยลดโลกร้อน ซึ่งปลายปีหน้าทางบริษัทนี้เขาคาดการณ์ว่าน่าจะดีขึ้นกว่านี้อีกมากทีเดียว เพราะเมื่อถุงผ้าออกสู่ตลาดมากขึ้นก็ทำให้กระแสยิ่งแรงขึ้นไปเรื่อยๆ
"แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องไม่ลืมเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้ถุงผ้ากันให้เป็นนิสัย ไม่ว่าจะไปตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ไปช็อปปิ้ง หรือใส่เอกสารไปที่ทำงาน อย่าได้ใช้ถุงพลาสติกเชียว ไม่งั้นเชยเอามากๆ นะคะ"

และนี่คือข้อมูลดีๆที่เราอยากให้ได้รู้ไว้นะคะ- ถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายมากถึง 450 ปี - เฉพาะแค่ กทม. เชื่อไหมว่าต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วันเชียว ! (โอ้โห!!!)
ข้อมูลที่เราหยิบมาให้ดูกันนี้ เป็นเพียงข้อมูลส่วนเล็กๆส่วนเดียวของเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของปัญหาโลกร้อนที่มีอยู่มากมาย

ทีเทรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าหน้าผมที่กำลังฮิตติดลมกันอยู่ทุกวันนี้ น้องๆยังอัพเดทตามกันได้ทัน รองหันมาสนใจเทรนด์ดีๆเรานำมาเล่าให้ฟังวันนี้ก็อาจจะดีไม่น้อยเลยก็ได้นะคะ ช่วยให้คุณดูสวยเก๋ขึ้นแล้วยังช่วยโลกได้อีกด้วย...ลองดูนะคะ






ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากนิตยสารดีไลฟ์ค่ะ


วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day




รูปภาพการรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก


ความเป็นมา


จากการตื่นตัวในวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก อันประกอบด้วยวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งเป็นผลกระทบกับคนทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN Conferenceonthe Human Environment) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5 - 16 มิถุนายน 2515 โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆรวมทั้งแผนการดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมถึง 1,200 คน จาก 113 ประเทศ นอกจากนั้นยังมีผู้สังเกตการณ์กว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน สื่อมวลชนแขนงต่างๆ พร้อมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งผลการประชุมนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภัยอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม โดยองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้ง โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP : United Nation Environment Programme) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้นและจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน
ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2515 อันเป็นวันเริ่มการประชุมครั้งยิ่งใหญ่นี้ องค์การสหประชาชาติจึงได้รับประกาศให้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)

สำหรับปี 2551 ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์เรื่องการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกและเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลกร้อน จากวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน โดยมีคำขวัญภาษาอังกฤษว่า "CO2, Kick the Habit! Towards a Low Carbon Economy" และภาษาไทยใช้คำว่า "ลดวิกฤตโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ" ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดให้มีการรณรงค์ในเรื่องการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

คำขวัญของวันสิ่งแวดล้อมโลก


พ.ศ. 2528 (1985) เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม Youth, Population and Environment
พ.ศ. 2529 (1986) ต้นไม้เพื่อสันติภาพ A Tree for Peace
พ.ศ. 2530 (1987) theme : Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development
พ.ศ. 2531 (1988) การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนSlogan : When people put the environment first, development will last
พ.ศ. 2532 (1989) ภาวะโลกร้อน Global Warming ; Global Warming
พ.ศ. 2533 (1990) เด็ก และสิ่งแวดล้อม Children and the Environment (Our Children, Their Earth)
พ.ศ. 2534 (1991) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change : Need for Global Partnership
พ.ศ. 2535 (1992) Only One Earth : Care and Share
พ.ศ. 2536 (1993) Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle
พ.ศ. 2537 (1994) โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน One Earth, One Family
พ.ศ. 2538 (1995) ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก We The Peoples, United for the Global Environment
พ.ศ. 2539 (1996) รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา Our Earth, Our Habitat, Our Home
พ.ศ. 2540 (1997) เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก For Life one Earth
พ.ศ. 2541 (1998) เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน For Life on Earth "Save our Seas"
พ.ศ. 2542 (1999) รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม "Our Earth, Our Future...Just Save It"
พ.ศ. 2543 (2000) ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา 2000 The Environment Millennium : Time to Act
พ.ศ. 2544 (2001) เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต CONNECT with the World Wide Web of Life
พ.ศ. 2545 (2002) ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต Give Earth a Chance
พ.ศ. 2546 (2003) รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน Water - Two Billion People are Dying for it!
พ.ศ. 2547 (2004) "Wanted! Sea and Oceans - Dead or Live?" "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย"
พ.ศ. 2548 (2005) เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET!
พ.ศ. 2549 (2006) เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ DON'T DESERT DRYLANDS!
พ.ศ. 2550 (2007) หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง MELTING ICE - A HOT TOPIC ?
พ.ศ. 2551 (2008) ลดวิกฤษโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิดสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ CO2 Kick the Habit Towards a Low Carbon Economy


รูปภาพการรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก



รูปภาพการรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก


อ้างอิงข้อมูลจาก : http://dream-box.exteen.com/20080527/5-world-environment-day

http://www.phunchulee.com/board/index.php?topic=122.msg515

10 วิธีลดโลกร้อน

ทุกวันนี้ คงสามารถรู้สึกได้กันทุกคนถึง ภาวะโลกร้อน ซึงปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน ถ้าเราสังเกตุจากข่าวประจำวัน จะทราบถึงความผิดปกติของโลกเราน้ำท่วม โคลนถล่ม แผ่นดินไหว อากาศร้อนผิดปกติ ที่อินเดียปัจจุบันอุณหภูมิสูงถึง50 องศาเซลเซียส เกิดจากผลผลิตทางอุตสาหกรรมซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน ความร้อนต่างๆและ สารเคมีที่ลอยสู่อากาศปกคลุมโลกวันนี้จะขอเสนอ 10 วิธีเพื่อลดภาวะโลกร้อน
1. ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลลม หากเป็นไปได้ ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ สามารถทำได้ เช่นหลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2. เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และ ก็ซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผาไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3. เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิดเกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมื่อมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพภายนอก
4. พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรีอนกระจก
6. การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7. เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเราเราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนอออกมา ดังนี้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9. ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังน้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10. ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของจริงดูได้จากรูป






เราได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว เช่น ธารน้ำแข็งกำลังละลาย พืชและสัตว์ต่าง ๆ กำลังถูกผลักดันให้ต้องอพยพออกจากถิ่นฐานเดิมของมัน และปริมาณพายุที่มีความรุนแรงก็มีให้เห็นเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความแห้งแล้ง
- พายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงระดับ 4 ถึง 5 มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา
- โรคไข้มาลาเรียสามารถระบาดได้ในเขตพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้น อย่างเช่นในบริเวณเทือกเขา Colombian Andes ที่มีความสูงอยู่ในระดับ 7,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
- กระแสธารน้ำแข็งในเขตกรีนแลนด์มีปริมาณเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
- พืชและสัตว์ไม่ต่ำกว่า 279 สปีชีส์ได้มีการตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนเห็นได้จากการพยายามย้ายถิ่นฐานเข้าใกล้ขั้วโลกมากขึ้น
และถ้าระดับความร้อนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเราคงจะได้เห็นสิ่งเลวร้ายที่จะตามมาคือ
- อัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในระยะเวลา 25 ปีคือ 300,000 คนต่อปี
- ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นมากกว่า 20 ฟุต จากการละลายหายไปของพื้นน้ำแข็งในเขตกรีนแลนด์และแอนตาร์คติกาซึ่งจะกลืนกินพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก
คลื่นความร้อนจะเกิดบ่อยขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
- ความแห้งแล้งและการเกิดไฟป่าจะมีมากขึ้น
- มหาสมุทรอาร์คติกจะปราศจากน้ำแข็งหลงเหลือ ในฤดูร้อนของปี ค.ศ.2050
- สิ่งมีชีวิตทั่วโลกมากกว่าหนึ่งล้านสปีชี่ส์จะสูญพันธุ์ภายในปี ค.ศ.2050




วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ปรากฏการณ์โลกร้อน (อังกฤษ: Global warming) หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง
พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจกปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้
แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก
การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง(extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็งการสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้
สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น